ทำความรู้จัก Nikkei 225 Stock Average Index: ดัชนีหุ้นญี่ปุ่นที่รวบรวม 225 บริษัทชั้นนำจาก 6 อุตสาหกรรม

Share on
Copied

ทำความรู้จัก Nikkei 225 Stock Average Index: ดัชนีหุ้นญี่ปุ่นที่รวบรวม 225 บริษัทชั้นนำจาก 6 อุตสาหกรรม

ดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ NIKKEI41 DW คลิก

1. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นญี่ปุ่นสำหรับนักลงทุนไทย
2. สมาชิกที่มีน้ำหนักสูงที่สุด 5 อันดับแรกของดัชนี Nikkei 225
3. ความผันผวนย้อนหลังของดัชนี Nikkei 225 Stock Average
4. ข้อมูลเกี่ยวกับ DW NIKKEI41 ออกโดย J.P. Morgan ที่แรกในประเทศไทย
5. ตัวอย่างข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบการลงทุนในดัชนีอ้างอิง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีอ้างอิง

ดัชนี Nikkei 225 Stock Average Index (Nikkei 225) คือดัชนีหุ้นของประเทศญี่ปุ่นที่สะท้อนการเคลื่อนไหวราคาหุ้นของ 225 บริษัทที่จดทะเบียนอยู่ใน Tokyo Stock Exchange (TSE) ดัชนี Nikkei 225 มีสัดส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีประกอบอยู่ประมาณ 50% ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจาก Tokyo Stock Price Index (TOPIX) ที่มีกลุ่มบริษัทกระจายอยู่ในหลายภาคอุตสาหกรรม

แผนภาพ 1: น้ำหนักอุตสาหกรรมในดัชนี Nikkei 225 Stock Average Index
ข้อมูล ณ วันที่ 19 ส.ค. 67 จาก Nikkei Inc.

ความน่าสนใจของตลาดหุ้นญี่ปุ่นสำหรับนักลงทุนไทย
ในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นได้ขยายโครงการซื้อหุ้นคืนซึ่งมีมูลค่าถึง 9.6 ล้านล้านเยนหรือ 65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติใหม่ 2 ปีซ้อน ซึ่งการเติบโตของตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงเห็นได้ในปีนี้ โดยในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ดัชนี Nikkei 225 ได้ทำลายสถิติปรับตัวขึ้นทะลุระดับสูงที่สุดในปี 2532 ต่อมาในเดือนมีนาคม ดัชนีได้ปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 40,000 ทำสถิติครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ตั้งแต่ต้นปี 2567 ดัชนี Nikkei 225 ได้ปรับตัวขึ้นไปแล้ว +14.18% ดัชนี MSCI Asia Pacific Index ที่สะท้อนภาพรวมตลาดหุ้นของภูมิภาคเอเซีย-เเปซิฟิก และตลาดหุ้นไทยอย่าง SET50 แม้ในช่วงเดือนส.ค. จะมีการทำผลงานที่ต่ำกว่าดัชนี S&P500 ที่สะท้อนภาพรวมการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐ

แผนภาพ 2: ผลตอบแทนดัชนีนับตั้งแต่ต้นปี 2567 ข้อมูล ณ 22 ส.ค. 2567 เวลา 14.03 น. จาก Bloomberg
ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต

ข้อมูล ณ 28 ส.ค. 2567 เวลา 14.16 น. จาก Bloomberg

 

สมาชิกที่มีน้ำหนักสูงที่สุด 5 อันดับแรกของดัชนี Nikkei 225 Stock Average

ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2567 จาก Nikkei Inc.

 

ความผันผวนย้อนหลังของดัชนี Nikkei 225 Stock Average
ดัชนี Nikkei 225 Stock Average (NIKKEI) มีความผันผวนย้อนหลัง 90 วันที่สูงกว่าหลายดัชนีในภูมิภาคและในฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งค่าความผันผวนที่สูงกว่านี้ ส่งผลให้ดัชนีมีการเคลื่อนไหวจากราคาเฉลี่ยมากกว่าดัชนีอื่นๆ และเปิดโอกาสในการลงทุนทั้งในตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง

ข้อมูล ณ 22 ส.ค. 2567 เวลา 14.13 น. จาก Bloomberg

 

NIKKEI41 DW ออกโดย J.P. Morgan ผู้ออกรายแรกในประเทศไทย
NIKKEI41 คือ DW อ้างอิงดัชนี Nikkei 225 Stock Average ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับโลก ซึ่งแตกต่างจากตลาดหุ้นไทยที่มีสัดส่วนกระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมการเงิน พลังงาน และโทรคมนาคมเป็นหลัก ประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับคือการกระจายความเสี่ยงเข้าไปลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ๆ

DW อ้างอิงดัชนี Nikkei 225 Stock Average จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้ทั้งในตลาดขาขึ้นและขาลง เพราะมีผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท ทั้ง Call (NIKKEI41C) ที่จะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับหลักทรัพย์อ้างอิง และ Put (NIKKEI41P) ที่เคลื่อนไหวสวนทางกับหลักทรัพย์อ้างอิง โดยนักลงทุนสามารถซื้อขาย NIKKEI41 DW ด้วยบัญชีซื้อขายหลักทัพย์ในประเทศของโบรคเกอร์ทุกรายด้วยสกุลเงินบาท

ความเสี่ยงที่ควรระมัดระวังจาก NIKKEI41 DW คือความเสี่ยงเรื่องการครบกำหนดอายุของ DW โดย DW ทุกรุ่นจะมีวันครบกำหนดอายุ ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นหรือดัชนีโดยตรง จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน

นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ในช่วงเวลาที่มีการดูแลสภาพคล่อง (ตามเวลาประเทศไทย) คือ
10.00น. – 13.15น.
14.30น. – 16.30น.

วันที่ไม่มีการดูแลสภาพคล่อง NIKKEI41 DW
วันดังต่อไปนี้เป็นวันที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดทำการ แต่ไม่มีการดูแลสภาพคล่อง NIKKEI41 DW เนื่องจาก Nikkei 225 Futures ไม่มีการซื้อขาย นักลงทุนโปรดระมัดระวังการลงทุนในวันดังกล่าว

ตัวอย่างข้อมูลที่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาการลงทุน
การปฏิรูปการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน
ในอดีต ตลาดญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนไม่มากเนื่องจากตลาดปรับตัวในกรอบแคบและมักประสบปัญหาเงินฝืด อีกทั้งยังมีประชากรผู้สูงอายุที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและผลผลิตที่ลดลง ส่งผลให้บริษัทส่วนใหญ่กักตุนเงินสดและไม่ให้ความสำคัญแก่ผลตอบแทนต่อนักลงทุน

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ภาครัฐมีการผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนปรับการบริหารเงินทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผ่านนโยบาย Tokyo Stock Exchange Reform โดยบริษัทที่มีราคาซื้อขายต่ำกว่า P/B Ratio 1 เท่าต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการบริหารเพื่อให้ราคาหุ้นของบริษัทสะท้อนถึงภาคพื้นฐานของบริษัทมากขึ้นเช่น การซื้อหุ้นคืน (Share Buybacks) ซึ่งเมื่อบริษัทลดจำนวนหุ้นที่ซื้อขายในตลาด กำไรต่อหุ้น (EPS) จะปรับตัวขึ้นและเพิ่มแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นผลดีต่อ ROE และ P/B Ratio ของบริษัท นักลงทุนยังได้รับประโยชน์จากผลตอบแทนที่มากขึ้นอีกด้วย

การส่งเสริมจากภาครัฐ
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีสัดส่วน 50% ในดัชนี Nikkei 225 Stock Average ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างมาก อาทิเช่น การประกาศงบ 2 ล้านล้านเยนเพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และขับเคลื่อนญี่ปุ่นกลับมาเป็นผู้นำการผลิตชิปอีกครั้ง

ธนาคารกลางญี่ปุ่นสิ้นสุดนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบ
ในเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมาธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้มีการยุตินโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบและปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นจาก -0.1% เป็น 0%-0.1% ซึ่งเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปี หลังจากที่ค่าแรงและการบริโภคมีการปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม BOJ ได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม 67 จาก 0.1% เป็น 0.25% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่เร็วกว่าตลาดคาด ส่งผลให้ค่าเงินเยนปรับตัวอย่างผันผวนและแข็งค่าขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐปรับลดลง

ความผันผวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วง Black Monday เมื่อเดือนสิงหาคม
ดัชนีความผันผวนของหุ้นญี่ปุ่น หรือ Nikkei Stock Average Volatility Index พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา และดัชนีปรับมีการตัวลงกว่า -12.4% หรือรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่การตกต่ำในเหตุการณ์ Black Monday หรือ “วันจันทร์ทมิฬ” ปีค.ศ. 1987

Disclaimer
1. วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) และมิได้เป็นส่วนหนึ่งของการเสนอการขาย หรือการแนะนำให้ซื้อหรือขายผลิตภัณฑ์ใดๆ เป็นการเฉพาะเจาะจง
2. ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน  มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต การแสดงข้อมูลผลตอบแทนเป็นเพียงข้อมูลประกอบการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ DW เท่านั้น
3. นักลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

เครื่องหมายการค้าและดัชนีต่างๆ ที่ระบุไว้ในเอกสารนี้เป็นทรัพย์สินของผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและดัชนี นั้นๆ โดยใบสาคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มิได้ออกโดย หรือได้รับการสนับสนุน การอนุมัติ จาหน่าย หรือประชาสัมพันธ์โดยผู้รวบรวมดัชนีใดๆ หรือบริษัทในเครือของผู้รวบรวมดัชนี ผู้รวบรวมดัชนีหรือบริษัทในเครือของผู้รวบรวมดัชนีแต่ละรายมิได้ให้การรับประกันใดๆ และมิได้มีความรับผิดใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ การทาการตลาด หรือการซื้อขายใบสาคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ กรณีที่มีข้อความขัดหรือแย้งกันระหว่างข้อความสงวนสิทธิ์นี้ระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทย ให้ฉบับภาษาอังกฤษมีผลใช้บังคับ

Nikkei Inc. is the sole exclusive owner of the copyright and other intellectual property rights in the Nikkei Stock Average (Nikkei 225).  Nikkei Inc. does not sponsor the Derivative Warrants and shall assume no obligation or responsibility for management and transactions of the Derivative Warrants.  Nikkei Inc. shall not be liable for any error, delay, suspension or cessation of the Nikkei 225 and shall have rights to change the details thereof.

Nikkei Inc. เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ใน Nikkei Stock Average (Nikkei 225) แต่เพียงผู้เดียว โดย Nikkei Inc. มิได้เป็นผู้สนับสนุนการออก “ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” และมิได้มีความรับผิดหรือความรับผิดชอบใดๆ ในการจัดการและธุรกรรมต่างๆ เกี่ยวกับ “ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์” Nikkei Inc. ไม่ต้องรับผิดสำหรับความผิดพลาด ล่าช้า ระงับหรือยกเลิกซึ่ง Nikkei 225 และมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Nikkei 225

Bloomberg Disclaimer
The data included in these materials are for illustrative purposes only. The BLOOMBERG TERMINAL service and Bloomberg data products (the “Services”) are owned and distributed by Bloomberg Finance L.P. (“BFLP”) except (i) in Argentina, Australia and certain jurisdictions in the Pacific islands, Bermuda, China, India, Japan, Korea and New Zealand, where Bloomberg L.P. and its subsidiaries (“BLP”) distribute these products, and (ii) in Singapore and the jurisdictions serviced by Bloomberg’s Singapore office, where a subsidiary of BFLP distributes these products. BLP provides BFLP and its subsidiaries with global marketing and operational support and service. Certain features, functions, products and services are available only to sophisticated investors and only where permitted. BFLP, BLP and their affiliates do not guarantee the accuracy of prices or other information in the Services. Nothing in the Services shall constitute or be construed as an offering of financial instruments by BFLP, BLP or their affiliates, or as investment advice or recommendations by BFLP, BLP or their affiliates of an investment strategy or whether or not to “buy”, “sell” or “hold” an investment. Information available via the Services should not be considered as information sufficient upon which to base an investment decision. The following are trademarks and service marks of BFLP, a Delaware limited partnership, or its subsidiaries: BLOOMBERG, BLOOMBERG ANYWHERE, BLOOMBERG MARKETS, BLOOMBERG NEWS, BLOOMBERG PROFESSIONAL, BLOOMBERG TERMINAL and BLOOMBERG.COM. Absence of any trademark or service mark from this list does not waive Bloomberg’s intellectual property rights in that name, mark or logo. All rights reserved. ©2023 Bloomberg. 2521503 0723

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://www.fidelity.co.uk/markets-insights/markets/japan/why-have-investors-been-buying-japan/#:~:text=Ultra%2Dlow%20rates%20have%20boosted,even%20as%20inflation%20has%20increased.
https://privatebank.jpmorgan.com/apac/en/insights/markets-and-investing/japan-is-this-time-different
https://www.franklintempleton.com.sg/articles/2024/equity/japan-ends-its-negative-interest-rate-policy
https://www.businesstimes.com.sg/international/global/japan-s-union-group-rengo-announces-biggest-wage-hikes-record
https://www.jpx.co.jp/english/derivatives/rules/trading-hours/index.html

 

Share on
Share on
Copied

Trending Articles