ปรับกลยุทธ์อย่างไรได้บ้าง เมื่อเทรด DW ผิดทาง?

Share on
Copied

DW หรือ Derivative Warrants เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนมีโอกาสได้รับผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์อ้างอิง เช่น หุ้นที่เป็นสมาชิก SET50, SET100, หุ้นต่างประเทศ, ดัชนีหุ้นไทย หรือดัชนีหุ้นต่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีสภาพคล่องและมูลค่าตลาดตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

การลงทุนใน DW แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.) Call DW คือสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์อ้างอิง และ
2.) Put DW คือสิทธิในการขายหลักทรัพย์อ้างอิง
โดยผู้ถือ DW จะได้รับสิทธิในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์อ้างอิงในราคาที่กำหนด (Strike Price) และสามารถใช้สิทธิดังกล่าว ณ วันครบกำหนดอายุ (Maturity Date)

ดังนั้น DW จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้นักลงทุนสามารถลงทุนได้ทั้งในช่วงที่คาดว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวสูงขึ้น และช่วงที่คาดว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ DW ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทด หรือที่เรียกว่า Effective Gearing ทำให้สามารถใช้เงินลงทุนน้อยกว่าการลงทุนในหลักทรัพย์อ้างอิงโดยตรง ซึ่งช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารเงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในอุดมคติ นักลงทุนจะเลือกซื้อ Call DW เมื่อคาดการณ์ว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวสูงขึ้น และเลือกซื้อ Put DW เมื่อคาดว่าราคาหลักทรัพย์อ้างอิงจะปรับตัวลง แต่ในความเป็นจริงอาจมีสถานการณ์ที่ส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปรับตัวสวนทางจากที่วางแผนไว้ จะมีวิธีปรับกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรได้บ้าง? โดย J.P. Morgan DW41 ได้สรุปทางเลือกในการปรับกลยุทธ์เมื่อเทรด DW ผิดทางเป็น 3 กรณี ดังนี้

3 ทางเลือกดำเนินการเมื่อเทรด DW ผิดทาง

1) การถือ DW ตัวเดิมต่อ

เมื่อลงทุน DW ผิดทาง นักลงทุนสามารถพิจารณาถือครอง DW ต่อไปได้ หากเชื่อมั่นว่าเป็นเพียงการปรับฐานของตลาดในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุน ไม่ควรถือ DW เกินกว่าระยะเวลาการลงทุนที่วางแผนไว้เดิม

2) การขายออก (Cut Loss) และปิดสถานะ

ก่อนเริ่มลงทุน นักลงทุนสามารถกำหนดระดับราคา DW ที่จะ Cut Loss ได้ เนื่องจากการ Cut Loss เป็นวิธีช่วยจำกัดความเสียหายและป้องกันไม่ให้ขาดทุนมากขึ้น และยังเปิดโอกาสในการนำเงินทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์อื่น หากนักลงทุนมีมุมมองว่าปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์อ้างอิงหรือแนวโน้มตลาดมีการเปลี่ยนแปลง และต้องการบริหารความเสี่ยงอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม แม้วิธี Cut Loss จะช่วยลดความเสี่ยงจากการถือครอง DW ที่ขาดทุน แต่ก็อาจทำให้พลาดโอกาสหากตลาดกลับตัวในภายหลัง

3) การมองหา DW ตัวใหม่ที่เหมาะกับสภาวะตลาดมากขึ้น

ทางเลือกนี้ เป็นการต่อยอดจากการปิดสถานะ (Cut Loss) โดยนักลงทุนที่มองว่าทิศทางของตลาดเปลี่ยนแปลงไป แต่ยังคงมองเห็นโอกาสในการลงทุน สามารถเปิดสถานะใน DW รุ่นใหม่ที่มีลักษณะที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดปัจจุบันมากกว่า DW รุ่นเดิม เนื่องจากหลักทรัพย์อ้างอิงที่เคลื่อนไหวสวนทางกับที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ มักส่งผลให้ DW รุ่นเดิมมีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น Out of The Money มากขึ้น Gearing สูงขึ้น และ Sensitivity ลดลง โดยเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ผู้ออก DW อาจมีการออกรุ่นใหม่ เพื่อตอบสนองสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไป

วิธีนี้ช่วยให้นักลงทุนสามารถเลือก DW ที่รองรับสภาวะตลาดปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยน DW จะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อขายเพิ่มขึ้น และต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์และเลือก DW ตัวใหม่ที่เหมาะสม

 

สุดท้ายนี้ การเลือกวิธีใดขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ตลาด กลยุทธ์การลงทุน และความสามารถในการรับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละราย สิ่งสำคัญคือนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลความรู้ที่จำเป็น ทำความเข้าใจตลาดและสินค้าอย่างเหมาะสม ก่อนพิจารณาตัดสินใจในการลงทุน ไม่ใช้อารมณ์เป็นตัวนำในการตัดสินใจ

สำหรับมือใหม่ที่อยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DW สามารถติดตามความรู้ดี ๆ ได้ที่ DW41 จาก J.P. Morgan ผ่าน LINE Official Account: @DW41 นอกจากนี้ยังสามารถดาวน์โหลดคู่มือ e-book ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนใน DW ได้อีกด้วย

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

Share on
Share on
Copied

Trending Articles